นักศึกษาต่างชาติจำนวนมากเลือกเดินทางมาเรียนที่ประเทศแคนาดา เนื่องจากมีโอกาสในการฝึกอบรมและหาประสบการณ์การทำงานที่หลากหลาย โปรแกรม Co-operative program หรือ Co-op เป็นจุดเด่นข้อหนึ่งของระบบการศึกษาแคนาดา ที่สร้างสมดุลย์ระหว่างการเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนกับการลงมือปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ซึ่งนักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การทำงานใน area ที่ตนสนใจโดยได้รับค่าจ้างด้วย!! และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะนับเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานในระดับหนึ่ง ทำให้ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งในการสมัครงานเป็นครั้งแรก

เป้าหมายหลักของโครงการ Co-Op

เป้าหมายหลักของโครงการ Co-op คือการจำลองการทำงานในสาขาที่น้อง ๆ เลือกเรียนเข้ามาไว้ในหลักสูตรการศึกษา ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการสมัครงานในตำแหน่ง Co-op ด้วย ตั้งแต่การเริ่มออกแบบและพัฒนา Resume ที่มีคุณภาพ มีข้อมูลครบถ้วนและการเตรียมพร้อมสำหรับการการสัมภาษณ์ แม้น้องๆ จะลงทะเบียนเรียนในโครงการ Co-op แต่จะไม่มีการรับประกันว่าจะได้งานโดยอัตโนมัต น้อง ๆ ต้องสร้างความความประทับใจแก่ว่าที่นายจ้างเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนักเรียนคนอื่น ๆ ได้ เช่นเดียวกับการที่น้อง ๆ ต้องแข่งขันในตลาดแรงงานภายนอกโรงเรียน เมื่อน้อง ๆ เรียนจบแล้ว

หลังจากที่บริษัทตอบรับและได้เข้าไปฝึกงานในตำแหน่ง Co-op แล้ว น้อง ๆ จะได้เริ่มต้นทำงานในตำแหน่งระดับ entry level โดยมีผู้จัดการและหัวหน้างานคอยสอนงานให้ โครงการ Co-op จะช่วยให้น้อง ๆ “มีความเข้าใจลักษณะงานในแง่มุมทางวิชาชีพในสาขาวิชาที่เลือกเรียน” ตัวอย่างเช่น หากน้อง ๆ เรียนสาขาจิตวิทยา อาจจะได้ฝึกงานในห้องปฏิบัติการวิจัยของโรงพยาบาล โดยช่วยงานในเรื่องการทำวิจัยทาง Mental Health เช่น รวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลทางจิตวิทยาให้แก่โรงพยาบาล เป็นต้น

ใครสามารถลงเรียน Co-Op ได้บ้าง ?

คุณสมบัติของนักเรียนที่สามารถลงทะเบียนเรียนในโครงการนี้ มีดังนี้

  1. มีใบอนุญาตการศึกษา (Study Permit) ที่ถูกต้องและยังไม่หมดอายุ
  2. การฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร และมีความจำเป็นต้องฝึกงานเพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้
  3. ต้องมีจดหมายรับรองจากสถาบันการศึกษาเพื่อยืนยันแก่ผู้ประกอบการ ว่าการฝึกงานเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
  4. ตำแหน่ง co-op หรือการฝึกงานโดยรับค่าจ้าง จะต้องมีสัดส่วนไม่เกิน 50% หรือน้อยกว่าของการเรียนทั้งหมด
  5. นักเรียนที่ศึกษาในหลักสูตรภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง (ESL/FSL) รวมถึงนักเรียนที่เรียนหลักสูตรเตรียมความพร้อมหรือปรับพื้นฐานเพื่อการไปสมัครเรียนหลักสูตรการศึกษาอื่น ไม่สามารถสมัครร่วมโครงการ Co-op ได้

เมื่อสมัครในโครงการ Co-Op แล้วจะได้ไปทำงานที่ไหน ?

ในแต่ละสถาบันการศึกษาจะมีรายชื่อบริษัทและองค์กรที่ได้รับการอนุมัติให้นักศึกษาไปฝึกงานได้ บริษัทและองค์กรเหล่านี้เป็น partner ที่ทำงานร่วมกับทางภาควิชา เข้าใจขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการฝึกงานของนักเรียนในโครงการ Co-op เป็นอย่างดี องค์กรเหล่านี้ยินดีให้ความร่วมมือกับทางสถาบันการศึกษา ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยพัฒนาสังคมและชุมชน ส่วนหนึ่งได้รับประโชน์จากการจ้างงานในระยะสั้น เช่น มีโปรเจคที่มีระยะเวลาสิ้นสุดที่แน่นอนและบริษัทต้องการพนักงานมาทำงานในโปรเจคแต่ไม่ต้องการจ้างงานในระยะยาว หรืออาจเป็นประโยชน์ในการจ้างงานระยะยาวเนื่องจากจะมีโอกาสได้ศึกษานักเรียนที่มีศักยภาพ และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับองค์กรเพื่อจ้างเป็นพนักงานประจำได้ในอนาคต

ในการเลือกองค์กรนายจ้าง น้อง ๆ สามารถขอคำปรึกษาจาก Co-op Advisor ในสถาบันการศึกษาของน้อง ๆ หรือสามารถตรวจสอบรายชื่อองค์กรและตำแหน่งงานจากเวบไซต์ของมหาวิทยาลัยได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรที่น้อง ๆ สามารถเลือกไปฝึกงานอาจอยู่นอกรายชื่อที่สถาบันการศึกษากำหนดก็ได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัคิจากโครงการก่อนว่าเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนดของหลักสูตรที่มีกำหนดไว้

การฝึกงาน Co-op ได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ - Co-Op แคนาดา
Co-Op จะช่วยให้เข้าใจลักษณะงานในแง่มุมทางวิชาชีพในสาขาวิชาที่เลือกเรียน

การฝึกงาน Co-op ได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ ?

เว็ปไซต์ talent.com ได้ประเมินค่าตอบแทนนักศึกษา Co-op ในประเทศแคนาดาในปี 2021 ว่าได้รับค่าตอบแทนโดยเฉลี่ย 20.82 เหรียญต่อชั่วโมง โดยรัฐที่นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนสูงสุดคือ Ontario และ British Columbia

นอกจากนี้ University of Victoria ระบุในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยว่าโดยเฉลี่ยนักศึกษาในโครงการ Co-op ระดับปริญาตรีได้ค่าตอบแทนเฉลี่ย  $2,886  ต่อเดือน และระดับปริญาโท $3,637 ต่อเดือน โดยกลุ่มสาขาวิชาที่ได้รับค่าตอบแทนสูง ได้แก่ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ กฎหมาย สถิติ Mathematics และ Education เป็นต้น


ประโยชน์ของโครงการ Co-Op

1. เป็นโอกาสทองในการค้นหาอาชีพที่เหมาะกับตัวเรา

การเลือกอาชีพในฝันไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปและบางครั้งการเรียนทางทฤษฏีในห้องเรียนอาจจะไม่เหมือนการลงมือปฎิบัติงานจริง แต่ Co-op จะเป็นโอกาสในการเรียนรู้การทำงานในอุตสาหกรรมหลากหลายที่น้อง ๆ มีความสนใจโดยการลงมือทำงานด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้น้อง ๆ มีทางเลือกและโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้นว่างานใดที่หมาะกับตัวเอง และสามารถตัดสินใจเรื่องการทำงานในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษาได้อย่างมั่นใจ

2. ได้รับทั้งประสบการณ์และค่าจ้าง

การมีประสบการณ์ทำงานในสถานประกอบการจริง เป็นปัจจัยสำคัญมากในการสมัครงานหลังจบการศึกษา บริษัทส่วนมากต้องการได้คนที่มีประสบการณ์ทำงานมาบ้าง และประสบการณ์ในการทำงานในสถานประกอบการในประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งอย่างแคนาดาจะเป็นแต้มต่อ ให้ใบสมัครงานของน้อง ๆ โดดเด่นและมีความน่าสนใจ ที่สำคัญคือในระหว่างการฝึกงานนี้ น้อง ๆ จะได้รับค่าจ้างมาช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษาอีกด้วย

3. ช่วยให้ความฝันในการทำงานในแคนาดาหลังจบการศึกษาเป็นจริงได้ง่ายขึ้น

น้อง ๆ ที่เข้าร่วมใน Co-op Program จะมีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายจากการฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆ ทั้งกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และนายจ้าง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว หากน้อง ๆ ตัดสินใจสมัครในโครงการให้ใบอนุญาตทำงานหลังสำเร็จการศึกษา (Post-Graduation Work Permit Program) การมีเครือข่ายในสถานประกอบการจะทำให้น้อง ๆ มีโอกาสในการได้งานทำสูงกว่าเพราะได้เรียนรู้งานมาบ้างแล้วและเป็นที่รู้จักของบุคลากรในองค์กรดีอยู่แล้ว

ข้อจำกัดของโปรแกรม Co-op

โปรแกรม co-op อาจไม่ใช่เป้าหมายสำหรับทุกคน มีบางประเด็นที่น้อง ๆ ควรนำมาประกอบการพิจารณาในการลงทะเบียนเรียน Co-op ดังนี้ค่ะ

  • อาจใช้เวลานานกว่าหลักสูตรที่เรียนเฉพาะในห้องเรียนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
  • อาจต้องใช้การวางแผนการเรียนมากขึ้น เพราะโครงการ Co-op อาจไม่ได้เปิดทุกภาคการศึกษา
  • การฝึกทำงานจริงอาจมาพร้อมกับความท้ายทายและความยากลำบากเมื่อเทียบกับการเรียนในห้องเรียนที่น้อง ๆ คุ้นเคยดีอยู่แล้ว
  • อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการลงทะเบียนในโครงการ Co-op
  • ไม่มีการรับประกันตำแหน่ง Co-op แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรในสาขาวิชานั้น ๆ และในเวลานั้น ๆ ด้วย
  • ไม่เป็นการรับประกันว่าจะได้งานหลังเรียนจบ
ประโยชน์ของโครงการ Co-Op ที่แคนาดา
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนไป Co-Op ที่แคนาดา

การเตรียมตัว

หากน้อง ๆ มีความตั้งใจที่จะลงทะเบียนในโครงการ Co-op ควรวางแผนแต่เนิ่น ๆ เริ่มจากการศึกษาว่ามหาวิทยาลัยใดบ้างที่มีโครงการนี้ เพราะแม้ Co-op จะเป็นจุดเด่นของการศึกษาในประเทศแคนาดา แต่ไม่ใช่ทุกสถาบันการศึกษาจะมีโครงการนี้ให้นักเรียนเลือกลงทะเบียนเรียนได้ และควรวางแผนการเรียนให้ดีตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน

แนะนำอ่าน : 4 ทางเลือกในการหา Funding ช่วยค่าเล่าเรียนในประเทศแคนาดา

ในบางมหาวิทยาลัยจะมีกฎเกณฑ์ว่าต้องลงเรียนในห้องเรียนให้ครบตามจำนวนหน่วยกิตขั้นต่ำที่กำหนดไว้ก่อน จึงจะสามารถลงทะเบียนในโครงการ Co-op ได้ เช่น UBC กำหนดให้นักศึกษาต้องลงเรียนไม่ต่ำกว่า 21 หน่วยกิตก่อนที่จะสามารถสมัครในโครงการ Co-op ได้ และต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 72% เป็นต้น

นอกจากนี้เกรดและประสบการณ์ทำงานก็อาจมีผลในการได้รับเข้าฝึกงาน เช่น หากน้อง ๆ ได้เคยทำงาน in-campus และ off-campus ในงานที่เกี่ยวข้องมาก่อน ก็อาจเป็นแต้มต่อในการพิจารณาใบสมัครแก่น้อง ๆ ได้ค่ะ

ตัวอย่างการวางแผนการลงเรียน Co-Op ของ UBC

YEARFALL (SEP-DEC)WINTER (JAN-APR)SUMMER (MAY-AUG)
1stStudyStudyBreak
2nd (or 3rd)Study & Apply to Co-Op Attend Conference 1Study
Attend Conference 2 & 3
Co-op Term 1
3rdCo-op Term 2StudyCo-op Term 3
4thStudyCo-op Term 4 (Optional)Study
5thStudyStudy

Success Story

Josephine Lee เป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่ University of British Columbia (UBC) ในสาขาวิชา Art History และได้ลงทะเบียนในโครงการ Co-op ของมหาวิทยาลัย โดยได้ไปฝึกงานที่ Canadian Literature ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ เป็นเวลา 1 ปี

ในระหว่างการฝึกงาน Josephine ได้มีโอกาสทำงานในกระบวนการจัดพิมพ์วารสารในหลากหลายส่วน ตั้งแต่การพิสูจน์อักษร การรวบรวมงานเขียน การประสานงานกับสปอนเซอร์และนักออกแบบศิลป์ เป็นต้น นอกจากนี้ Josephine ยังมีส่วนช่วยในการเขียน guildlines และ พัฒนา template สำหรับการส่งบทความบนแพลตฟอร์มใหม่อีกด้วย

หัวหน้างานของ Josephine ได้ประเมินผลว่า Josephine มีความตั้งใจในการทำงานอย่างมาก สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการ editing ของสำนักพิมพ์ให้สั้นลงและทำให้ระบบกองบรรณาธิการมีประสิทธิภาพมากขึ้น Josephine ได้รับรางวัล the 2015 Arts Co-op Undergraduate Student of the Year Award หลังจากที่จบการฝึกงานในโครงการ.

ถ้าชอบบทความแบบนี้และคิดว่ามีประโยชน์กับน้อง ๆ อย่าลืมติดตามและแชร์บทความนี้กันด้วยนะคะ.