Advanced Placement เป็นโปรแกรมจาก College Board (ผู้จัดสอบ SAT) ที่ให้นักเรียนระดับ High School ได้เรียนเนื้อหาของระดับมหาวิทยาลัย ในรายวิชาที่สนใจล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือหากนักเรียนสามารถสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดนักเรียนยังได้หน่วยกิตของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
วิชา AP นั้นอาจมีความท้าทายเทียบเท่ากับวิชาที่ลงเรียนในปีแรกของมหาวิทยาลัย เนื่องจากวิชา AP ครอบคลุมเนื้อหามากกว่า และมีความเข้มข้นมากกว่าวิชาปกติในระดับ High School มาก นอกจากนี้ยังต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติม และวิเคราะห์ในเชิงลึกอีกด้วย การได้ลงเรียนในวิชาที่มีความเข้มข้นเหมือนกับในระดับมหาวิทยาลัยตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยในการปรับตัวจากนักเรียน High School ไปเป็นนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ง่ายยิ่งขึ้น
AP มีทั้งหมดกี่วิชา?
รายวิชา AP มีทั้งหมด 38 วิชาดังต่อไปนี้ โดยในแต่ละโรงเรียนอาจไม่ได้เปิดการสอนครอบคลุมทั้ง 38 วิชา ขึ้นอยู่กับนโยบายและทรัพยากรของแต่ละโรงเรียน
AP Capstone Diploma Program
– AP Seminar
Arts
– AP Art History
– AP Music Theory
English
– AP English Literature and Composition
History and Social Sciences
– AP European History
– AP Human Geography
– AP Macroeconomics
– AP Microeconomics
– AP Psychology
– AP United States Government and Politics
– AP United States History
– AP World History: Modern
Math and Computer Science
– AP Calculus BC
– AP Computer Science A
– AP Computer Science Principles
– AP Statistics
Sciences
– AP Chemistry
– AP Environmental Science
– AP Physics 1: Algebra-Based
– AP Physics 2: Algebra-Based
– AP Physics C: Electricity and Magnetism
– AP Physics C: Mechanics
AP World Languages and Cultures
– AP French Language and Culture
– AP German Language and Culture
– AP Italian Language and Culture
– AP Japanese Language and Culture
– AP Latin
– AP Spanish Language and Culture
– AP Spanish Literature and Culture
ควรลงเรียนวิชา AP เพราะอะไร?
นักเรียนระดับชั้น High School ควรลงเรียนวิชา AP เพราะอะไร? การที่นักเรียนสอบผ่าน AP tests นั้น นักเรียนจะได้รับหน่วยกิตที่โอนไปใช้ในระกับมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งทำให้ “ประหยัดทั้งเวลาเรียนและเงิน” เนื่องจากค่าสอบ AP นั้นถูกกว่าค่าหน่วยกิตในระดับมหาลัยมาก แถมนักเรียนยังสามารถไม่ต้องลงเรียนวิชา introduction ต่าง ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยได้ด้วย นอกจากนี้การเรียนวิชา AP จะช่วยทำให้นักเรียนมีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยที่มีการแข่งขันสูงได้มากขึ้น เพราะการสอบผ่านในวิชา AP แสดงให้เห็นว่านักเรียนสามารถเรียนในระดับชั้นมหาวิทยาลัยได้
จำนวนวิชา AP สูงสุดที่สามารถเรียนได้?
จำนวนวิชา AP ที่นักเรียนควรจะลงเรียนนั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน และเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยแต่ละที่ หากนักเรียนต้องการลงเรียนวิชา AP เพื่อเพิ่มโอกาสในการผ่านเกณฑ์เข้ามหาวิทยาลัยนั้น นักเรียนก็อาจลงเรียนในหลากหลายวิชา เพื่อแสดงให้เห็นว่านักเรียนเป็นคนรอบรู้ หรือหากนักเรียนมีสาขาวิชาที่ชอบและต้องการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ก็อาจจะมุ่งเน้นไปยังวิชา AP ที่เกี่ยวข้องกับสาขานั้น ๆ ไปเลย
มหาวิทยาลัยมักจะพิจารณาจำนวนวิชา AP บน transcript ในระหว่างการพิจารณาใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียน ยิ่งถ้ามหาวิทยาลัยนั้นมีการแข่งขันสูง คณะกรรมการก็จะต้องการเห็นจำนวนวิชา AP เยอะขึ้นตามไปด้วย นั้นเพราะว่า “การลงเรียนในวิชา AP แสดงให้เห็นถึงความพร้อมสำหรับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัย” โดยส่วนมากมหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ที่ 5 วิชา แต่ในบางมหาวิทยาลัยที่การแข่งขันสูงอาจขึ้นไปถึง 8 วิชา
เมื่อไหร่ถึงควรเรียนวิชา AP?
เมื่อใดถึงควรลงวิชา AP นั้นไม่มีกฏตายตัว และยังต้องขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียนว่าเปิดสอนวิชา AP ช่วงใดบ้าง โดยปกติแล้วจะแนะนำให้นักเรียนลงเรียนวิชา AP ในช่วง Grade 10 – 12 ดังนี้
- ในช่วง Grade 10 : 1 – 3 วิชา
- ในช่วง Grade 11 : 2 – 4 วิชา
- และในช่วง Grade 12 : 3 – 5 วิชา
ถ้าไม่ได้เรียนวิชา AP สามารถสอบ AP ได้มั้ย?
สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้ลงเรียนวิชา AP ก็ยังสามารถสมัครสอบ AP ได้เช่นกัน เนื่องจากบางโรงเรียนไม่ได้เปิดสอนวิชา AP แต่ว่านักเรียนก็ยังมีโอกาสที่จะสอบ AP และสามารถใช้เทียบโอนหน่วยกิตในระดับมหาวิทยาลัยได้
สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้ผ่านการเรียนวิชา AP ในโรงเรียนถึงสอบผ่าน ผลการสอบ AP ก็จะไม่ได้ปรากฎใน Transcript ของนักเรียน
และถ้าเรียนวิชา AP แต่ไม่อยากสอบ ทำได้หรือเปล่า?
สำหรับนักเรียนที่ลงเรียนวิชา AP ก็ยังมีตัวเลือกที่จะไม่สมัครสอบ AP ได้เช่นกัน นักเรียนบางคนอาจต้องการแค่เรียนเพิ่มเติมในวิชาที่ต้องการ โดยที่ไม่ได้ต้องการเทียบโอนหน่วยกิตในระดับมหาวิทยาลัย
การเรียนโปรแกรม AP หรือ Advanced Placement เพิ่มเติมในระดับ High School นั้น ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ยิ่งถ้าหากว่าน้อง ๆ มีคะแนนสอบ AP ในสาขาที่อยากเรียนต่อด้วยแล้ว ยิ่งได้เปรียบในการ admission อีกด้วย ตามไปดูข้อมูล การสอบ AP <– ได้ที่นี่น๊า
Owl Campus Team