หลักสูตรอเมริกัน หรือ American Curriculum นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน แต่ละรัฐในอเมริกา และในแต่ละประเทศที่โรงเรียนนานาชาติตั้งอยู่ เนื่องจากอเมริกาได้ให้อิสระแต่ละรัฐในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนได้เอง โดยที่ยังยึดตาม American Common Core State Standards
American Common Core State Standards
แต่โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันในต่างประเทศ มักจะมีมาตรฐานที่สูงกว่าโรงเรียนรัฐในประเทศอเมริกา เนื่องจากโรงเรียนนานาชาติเหล่านี้นอกจากจะต้องยึดตาม American Common Core State Standards แล้วยังจะต้องได้รับการรับรองคุณภาพทางการศึกษาจาก 1 ใน 4 องค์กรเอกชนระดับประเทศ (national non-governmental agencies) โดยโรงเรียนต้องจัดทำหลักสูตรที่ได้มาตรฐานจากองค์กรเอกชนเหล่านั้น เช่น the Western Association of Schools and Colleges (WASC) และ New England Association of Schools and Colleges (NEASC)
หลักสูตรอเมริกันจะมีการเรียนวิชาหลักและวิชาเลือกที่หลากหลาย เพื่อที่จะสร้างเสริมให้นักเรียนในหลักสูตรอเมริกันเป็นคนที่รอบรู้ (Well-Rounded) โดยที่หลักสูตรอเมริกันจะมุ่งเน้นไปที่การทำให้นักเรียนค้นพบวิชา หรือสิ่งที่ตัวเองถนัดและได้ใช้ความสามารถของพวกเขาได้อย่างเต็มที่
American Curriculum
หลักสูตรอเมริกันถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน สำหรับการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย และระดับที่สูงขึ้นไป

นอกจากนี้เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรอเมริกัน โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันในประเทศไทยก็จะมีการ บาลานซ์การเรียนวิชาการ กับการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่นกีฬา ศิลปะ ชมรมต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์การเรียนหลักสูตรอเมริกันอย่างแท้จริง
K-12 Curriculum
K-12 หมายถึง ‘from kindergarten to 12th grade’ โดยที่จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระดับชั้นคือ
Elementary, Middle School และ High School ซึ่งจะครอบคลุมนักเรียนอายุ 6 – 18 ปี โดยที่ระดับ Pre School นั้นไม่ได้อยู่ในการศึกษาภาคบังคับ
แต่โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันส่วนมากในประเทศไทยนั้น จัดการเรียนในระดับ Pre School เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน ก่อนที่จะเข้าสู่ระดับชั้น Elementary School ต่อไป
Year in England | Age of Student | Grade in the US |
---|---|---|
Nursery | 3–4 | Pre School |
Reception | 4-5 | Pre School |
Year 1 | 5-6 | Kindergarten |
Year 2 | 6-7 | Grade 1 |
Year 3 | 7-8 | Grade 2 |
Year 4 | 8-9 | Grade 3 |
Year 5 | 9-10 | Grade 4 |
Year 6 | 10-11 | Grade 5 |
Year 7 | 11-12 | Grade 6 |
Year 8 | 12-13 | Grade 7 |
Year 9 | 13-14 | Grade 8 |
Year 10 | 14-15 | Grade 9 |
Year 11 | 15-16 | Grade 10 |
Year 12 | 16-17 | Grade 11 |
Year 13 | 17-18 | Grade 12 |
Pre School
ในประเทศไทย นักเรียนในหลักสูตรอเมริกันอาจเริ่มเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 5 ปี หรือน้อยกว่านั้น ในระดับชั้น Pre-School หรือระดับชั้นอนุบาล ในระดับชั้นนี้การเรียนการสอนจะไม่เน้นวิชาการมากนัก แต่จะมุ่งไปที่การทำให้เด็กเริ่มคุ้นเคยกับบรรยากาศและสังคมในโรงเรียน
Elementary School
ระดับชั้น Elementary School ประกอบด้วยตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล จนถึง Grade 5 นักเรียนจะมีอายุระหว่าง 5 -10 ปี โดยในระดับชั้นนี้จะมีการเล่นและเข้าสังคมกับเพื่อนร่วมชั้น ในขณะเดียวกันก็จะมีการเริ่มเรียนตัวหนังสือ ตัวเลข และการอ่าน วิชาต่าง ๆ เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคมศาสตร์ วิชาภาษาศาสตร์ วิชาศิลปะ และวิชาพลศึกษา ก็จะค่อย ๆ ถูกเพิ่มเข้ามาให้แต่ละระดับชั้น
Middle School
ในระดับ Middle School หรือ Grade 6 – Grade 8 นักเรียนจะมีอายุระหว่าง 11 – 13 ปี วิชาในช่วงระดับชั้นนี้จะมีหลายหลาย นักเรียนสามารถเลือกลงได้ และจะมีเนื้อหาบางส่วนที่เริ่มเข้มข้นขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมนักเรียนให้พร้อมสำหรับเนื้อหาการเรียนในระดับ High School
High School
ในระดับ High School หรือ Grade 9 – 12 นักเรียนจะมีอายุระหว่าง 14 – 18 ปี หลักสูตรจะเข้มข้นขึ้นและมีทางเลือกหลายสาย ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน เช่น Advance Placement (AP) หรือ IB Diploma Programme ซึ่งทุกหลักสูตรก็จะมีหลากหลายวิชาให้นักเรียนเลือกลงเรียนตามความถนัด และมีการกำหนดจำนวนหน่วยกิตที่นักเรียนต้องลงเรียน เพื่อที่จะสำเร็จการศึกษา
Assessment and Grading
โรงเรียนส่วนมากจะมีการรายงานผลการเรียนทุก ๆ ไตรมาส หรือทุก 6 อาทิตย์ โดยทั่วไปในระดับมัธยมโรงเรียนจะประเมินผลนักเรียนด้วยเกรด A-F ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข
- A=4
- B=3
- C=2
- D=1
- F=0
เกรดแต่ละวิชานั้นจะถูกนำมารวมและเฉลี่ยออกมาเป็น Grade Point Average (GPA) บางโรงเรียนมีการเพิ่ม “weight” สำหรับบางวิชาขึ้นอยู่กับระดับความยากของวิชานั้นๆ เช่น เกรด A ในวิชาสังคมศาสตร์ จะได้แค่ 4 คะแนน ในขณะที่ เกรด A ในวิชา AP Algebra 2 อาจจะได้ถึง 4.5-5 คะแนน นั่นหมายความว่า นักเรียนที่ได้ A ทุกวิชา ที่ลงเรียน 8 – 10 วิชา AP อาจจะมี GPA มากกว่า 4.00 ก็เป็นได้
High School Diploma Pathway
ในระดับชั้น High School บางโรงเรียนอาจะมีตัวเลือกนอกเหนือจากโปรแกรมการเรียนปกติ เช่น Advanced Placement หรือ AP และ IB Diploma Programme ให้นักเรียนเลือก ซึ่งวิชาที่ลงเรียนก็จะมีระดับความยากและซับซ้อนมากกว่าการเรียนโปรแกรมปกติ แต่ก็ทำให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโปรแกรมเหล่านี้ค่อนข้างมีแต้มต่อกว่านักเรียนในโปรแกรมปกติพอสมควร
Advanced Placement (AP)
นักเรียนที่เลือกลงเรียนในวิชา AP จะได้เรียนเนื้อหาที่เข้มข้นกว่าโปรแกรมปกติ โดยที่ในบางวิชาหากนักเรียนสามารถสอบผ่านในระดับสูง นักเรียนสามารถโอนหน่วยกิตการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ โดยไม่ต้องลงเรียนซ้ำอีกครั้ง การสอบ Advanced Placement (AP) นั้นถูกจัดตั้งขึ้นโดย College Board (ผู้จัดสอบ SAT) โดยที่นักเรียนที่ไม่ได้ลงเรียนวิชา AP หรือบางโรงเรียนไม่มีการสอนแบบ AP ก็ยังสามารถสมัครเข้าสอบได้เช่นกัน
IB Diploma Programme
Diploma Programme (DP) ประกอบด้วย 6 กลุ่มวิชา (Studies in language and literature, Language acquisition, Individuals and societies, Sciences, Mathematics และ The arts) และ DP core ซึ่งประกอบด้วย Theory of Knowledge (TOK), creativity activity และ service (CAS) และ extended essay ซึ่งนักเรียนในหลักสูตร DP จะต้องเรียนอย่างน้อย 3 วิชา(และไม่เกิน 4 วิชา)ใน Higher Level และวิชาที่เหลือใน Standard Level
ในช่วง High School นั้นก็จะเป็นช่วงที่นักเรียนจะได้เลือกเส้นทางต่อไปในระดับมหาวิทยาลัย
SAT
นักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเป็นจะต้องมีผลการสอบ SAT โดยนักเรียนที่เรียนในหลักสูตรอื่น ๆ เช่น IB, UK, Singapore และอื่น ๆ ก็สามารถสมัครสอบ SAT ได้เช่นกัน โดยที่ SAT นั้นเป็นข้อสอบมาตรฐานสากลจัดตั้งขึ้นโดย องค์กร College Board ประเทศสหรัฐอเมริกา นำมาใช้วัดความถนัดในวิชาเลข และภาษาอังกฤษ เพื่อประเมินความพร้อมเข้าสู่ระดับมหาวิทยาลัยของนักเรียน High School
โรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอเมริกันในประเทศไทยนั้นมีให้เลือกมากมาย ทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ และเล็กในกรุงเทพ หรือเมืองใหญ่ต่าง ๆ โดยรายชื่อโรงเรียนนานาชาติสามารถเข้าชมได้ที่นี่ โรงเรียนนานาชาติ
Owl Campus Team