หลักสูตรอังกฤษ (The National Curriculum) ถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยเป้าหมายที่ต้องการให้การศึกษาในสหราชอาณาจักรนั้นมีมาตรฐาน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้เรียนเหมือน ๆ กัน ในทุก ๆ โรงเรียนทั่วประเทศ โดยหลักสูตรอังกฤษนั้นจะกำหนดวิชาที่ครูจะต้องสอน และเกณฑ์มาตรฐานที่นักเรียนจะต้องผ่านในแต่ละวิชา

นักเรียนจะถูกแบ่งตามช่วงอายุ โดยจะมีการกรุ๊ปช่วงอายุเป็น Key Stage และจะมีหลักสูตรที่จัดทำขึ้นมาสำหรับแต่ละ Key Stage โดยที่ในแต่ละ Key Stage นั้นก็จะมีการวัดผลและการสอบวัดระดับ เพื่อมอนิเตอร์และติดตามผลทางวิชาการของนักเรียนแต่ละคน

Key Stages

Key Stage เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรอังกฤษ และมีไว้เพื่อการจัดรายวิชาสำหรับแต่ละช่วงชั้น นอกจากนี้ยังเอาไว้กำหนดว่าจะต้องประเมินผลกับนักเรียนอย่างไรด้วย

นักเรียนจะถูกแบ่งออกเป็น 4 Key Stages (KS1 – KS4) และ A-Level หรือ Sixth Form โดย Key Stages 1 และ 2 จะถูกสอนในชั้นประถม และ Key Stage 3, 4 และ A-Level จะถูกสอนในระดับมัธยม

British Curriculum
Key Stage 1Key Stage 2Key Stage 3Key Stage 4
Age5 -7 7 – 1111 – 1414 – 16
Year Groups1 – 23 – 67 – 910 – 11
Core Subjects
English
Mathematic
Science
Foundation Subjects
Art and design
Citizentship
Computing
Design and technology
Language
Geography
History
Music
Physical Education

Key Stage 1 นั้นไม่ได้หมายถึงนักเรียนที่เด็กที่สุดในโรงเรียน โดยนักเรียนอายุไม่เกิน 5 ปีนั้นจะจัดอยู่ใน Early Years Foundation Stage ที่ ๆ เด็ก ๆ จะได้เตรียมความพร้อมและมีความคุ้นเคยกับโรงเรียนก่อนเข้าเรียนในชั้น Year 1 ต่อไป

Early Years Foundation Stage

Early Years Foundation Stage เป็นแผนการเรียนที่สร้างขึ้นมาโดยรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งได้กำหนดขอบเขตการเรียนรู้และเกณฑ์มาตรฐานไว้ สำหรับนักเรียนอายุต่ำกว่า 5 ปี นักเรียนระดับ Pre-School จะยังไม่มีการเรียนวิชาการ “แต่พวกเขาจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่น”

นักเรียนระดับ Pre-School จะยังไม่มีการเรียนวิชาการ แต่พวกเขาจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่น
นักเรียนระดับ Pre-School จะยังไม่มีการเรียนวิชาการ แต่พวกเขาจะได้เรียนรู้ผ่านการเล่น

สำหรับ Early Years Foundation Stage จะมี 7 กลุ่มการเรียนรู้ที่จะต้องถูกสอนและครอบคลุมในการเรียน ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Communication and language
  • Expressive art and design
  • Literacy
  • Mathematics
  • Personal, social and emotional development
  • Physical development
  • Understanding the world

Key Stage 1

Key Stage 1 หมายถึงระดับชั้น Year 1 และ Year 2 ในชั้นประถม โดยนักเรียนจะมีอายุระหว่าง 5 – 7 ปี ในระดับชั้นนี้จะมี 10 วิชาที่นักเรียนจะได้เรียน ประกอบไปด้วย

  • English
  • Maths
  • Science
  • History
  • Geography
  • Art and design
  • Music
  • Design and technology
  • Physical education (which must include swimming)
  • Computing (often called information and communication technology or ICT)

How are children assessed in KS1?

ในตอนท้ายของทุก Key Stage รวมไปถึง KS1 ความสามารถของนักเรียนจะถูกวัดผล และประเมินโดยอ้างอิงจากเกณฑ์ที่รัฐบาลตั้งไว้

เมื่อใกล้จะจบ Year 1 นักเรียนจะถูกประเมินทักษะการอ่านออกเสียงและการสะกดคำศัพท์ (Phonics) โดยการอ่านคำศัพท์ 40 คำให้ครูผู้สอนฟัง ครึ่งหนึ่งของคำศัพท์เป็นคำที่มีความหมายจริง และอีกครึ่งเป็นคำที่แต่งขึ้นมา เพื่อที่ครูจะสามารถประเมินความสามารถการอ่านและการออกเสียงของนักเรียน หากนักเรียนทำได้ไม่ดีหรือไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นักเรียนเหล่านั้นจะได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับการอ่านมากขึ้น และสามารถสอบอีกครั้งเมื่อใกล้จบ Year 2

Key Stage 2

ระดับชั้น Key Stage 2 หมายถึง Year 3 – 6 ซึ่งนักเรียนจะมีอายุระหว่าง 7 – 11 ปี วิชาที่มีการสอนในระดับชั้นนี้ประกอบด้วยวิชาบังคับ 11 วิชา

  • English
  • Maths
  • Science
  • History
  • Geography
  • Ancient and modern foreign languages
  • Art and design
  • Music
  • Design and technology
  • Physical education (which must include swimming)
  • Computing (often called information and communication technology or ICT)

How are children assessed in KS2?

ในตอนท้ายของทุก ๆ Key Stage นักเรียนจะถูกประเมินความสามารถอย่างเป็นทางการ โดยที่นักเรียนจะถูกวัดผลโดยอ้างอิงจากเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลอังกฤษ

Key Stage 3

Key Stage 3 หมายถึงระดับชั้น Year 7 – 9 ซึ่งอยู่ในระดับมัธยม นักเรียนจะมีอายุระหว่าง 11 – 14 ปี ในระดับชั้น KS3 จะมีวิชา Core 3 วิชา คือ maths, science และ English นอกจากนี้ยังมีวิชา foundation อีก 9 วิชา ประกอบด้วย

  • Maths (Core)
  • English (Core)
  • Science (Core)
  • History
  • Geography
  • Modern foreign languages
  • Art and design
  • Music
  • Design and technology
  • Physical education (which must include swimming)
  • Computing (often called information and communication technology or ICT)
  • Citizenship

How are Children in KS3 Assessed?

นักเรียนจะถูกประเมินจากครูผู้สอน อาจะใช้การดูจากผลงานในแต่ละวิชา หรืออาจะมีการสอบก็ได้ ระดับความสามารถของนักเรียนแต่ละคนจะถูกประเมินโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดโดยรัฐบาลอังกฤษ

What are ‘Options’?

ระหว่างที่นักเรียนอยู่ในชั้น Year 9 (อายุ 13 – 14ปี) จะมีโอกาสได้เลือกวิชาที่พวกเขาต้องการจะเรียนในระดับ KS4 และวิชาเหล่านี้คือวิชาที่พวกเขาจะต้องใช้สอบ GCSE นั่นเอง โดยก็จะมีวิชาบังคับที่นักเรียนทุกคนต้องลงเรียนและสอบ GCSE ประกอบไปด้วย

  • English
  • Maths
  • Science

โดยบางโรงเรียนที่ไม่ได้ใช้ หลักสูตร National Curriculum หรือหลักสูตรอังกฤษ อาจมีวิชาบังคับมากกว่า 3 วิชาข้างต้นก็ได้ นอกจากนี้นักเรียนยังต้องลงเรียนในวิชา PE และ Citizen เช่นเดียวกัน แต่ในสองวิชานี้จะไม่มีการสอบแต่อย่างใด

What are ‘Entitlement Areas’?

ในแต่ละโรงเรียนก็จะมีวิชาเลือก หรือ entitlement ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน โดยที่นักเรียนจะต้องลงเรียนอย่างน้อย 1 วิชาในแต่ละกลุ่มวิชาทั้ง 4 ดังนี้

  • The arts (art and design, music, dance, drama and media arts)
  • Design and technology (electronics, food technology, graphics, resistant materials, systems and control, textiles and product design)
  • The humanities (geography and history)
  • Modern foreign languages (French, German, Spanish etc.)

Key Stage 4

Key Stage 4 หมายถึงระดับชั้น Year 10 และ Year 11 ในชั้นมัธยมศึกษา นักเรียนในระดับชั้นนี้มีอายุระหว่าง 14 – 16 ปี โดยในระดับชั้น KS4 วิชาที่เรียนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ GCSE และ การสอบ GCSE จะมีขึ้นในตอนท้ายของการเรียน Year 11

GCSE ย่อมาจาก General Certificate of Secondary Education โดยตั้งขึ้นมาแทนที่ O-Levels (Ordinary Levels) และ CSE (Certificate of Secondary Education)

GCSE

โดยการเลือกวิชาเรียนสำหรับ GCSE นั้นจะมี 3 วิชา Core ที่จำเป็นต้องลงเรียนคือ English, Maths และ Science นอกจากนี้ยังต้องลงเรียนในวิชา Citizenship และ PE อีกด้วย (แต่สองวิชานี้จะไม่มีการสอบ) วิชาอื่นๆที่ลงเรียนสำหรับ GCSE จะถือเป็นวิชาเลือก (Optional)

What are ‘entitlement areas’?

นอกเหนือจาก 5 วิชาบังคับแล้ว แต่ละโรงเรียนยังต้องจัดให้มีวิชาเลือกอย่างน้อยหนึ่งวิชาในแต่ละ กลุ่มวิชาดังต่อไปนี้

  • The arts (art and design, music, dance, drama and media arts)
  • Design and technology (electronics, food technology, graphics, resistant materials, systems and control, textiles and product design)
  • The humanities (geography and history)
  • Modern foreign languages (French, German, Spanish etc.)

How many GCSEs must children take?

แต่ละโรงเรียนสามารถกำหนดได้ว่านักเรียนสามารถลงเรียนวิชา GCSE  ได้กี่วิชา ซึ่งอาจจะลงเรียนได้มากถึง 12 วิชา หรือแค่ 7 วิชา โดยนอกจากวิชาบังคับ (English, Maths และ Science) แล้วนักเรียนจะสามารถเลือกวิชาเลือก GCSE ที่เหลือในชั้น Year 9

A-Level หรือ Sixth Form

A-Level หรือ Sixth Form เป็นช่วงระดับชั้นสุดท้ายของนักเรียน คือ Year 12  และ Year 13 สำหรับนักเรียนอายุ 16 – 18 ปี ในช่วงชั้นนี้นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาที่เข้มข้น และท้าทายขึ้นในบางวิชาเช่น เลข หรือ ฟิสิกส์ ซึ่งระดับชั้นนี้ถือว่าเป็น stage สุดท้ายของการเรียนชั้นมัธยม เมื่อนักเรียนสอบผ่าน A-Level แล้วนักเรียนก็จะสามารถไปสมัครเข้าเรียนในชั้นมหาวิทยาลัยต่อไปได้

How do A-levels work?

นักเรียนสามารถเลือกวิชา A-Level ที่พวกเขาต้องการเรียนได้ตั้งแต่ตอนที่เรียน GCSEs ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการเรียนของ GCSE ด้วย นักเรียนจำเป็นต้องสอบผ่านเกณฑ์ของ GCSE ก่อน ถึงจะลงเรียนในวิชา A-Level ได้ ซึ่งนักเรียนต้องได้ Grade A* – C (9-4) ในอย่างน้อย 5 วิชา GCSE ในบางวิชา A-Level อาจะต้องการ GCSE Grade ที่สูงกว่านี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยที่นักเรียนต้องการสมัครด้วย

How Are A-Levels Assessed?

A-Level จะถูกประเมินและวัดผลผ่านการสอบในเดือน มิถุนายน ในตอนท้ายของ Year 13 โดยที่จะมี 6 pass grades สำหรับ A-Levels ดังต่อไปนี้

A*The highest mark, achieved by about 8% of students
AA high pass. Approximately 26% of candidates achieve an A* or A
BA good pass. Just over half of A-Level students scored a B or higher in 2017
C Considered a decent pass. Almost 80% of students get Cs or higher
DA poor pass. 15% of candidates are awarded Ds
EThe lowest pass grade, given to an average of 6% of students each year
UUngraded. About 2% of A-Levels receive this mark

How are A-levels different from GCSEs?

ความแตกต่างระหว่าง A-Levels กับ GCSEs ที่เห็นเด่นชัดก็คงจะเป็นระดับความยากที่ต่างกันมาก วิชาที่นักเรียนเคยเรียนใน GCSE ก็จะเข้มข้นและซับซ้อนขึ้นมาใน A-Level ซึ่งนักเรียนจะต้องเรียนลงลึกในรายละเอียดมากกว่าเดิม

British Curriculum in Thailand

หลักสูตรอังกฤษ หรือ National Curriculum ถูกใช้อย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะโรงเรียนของรัฐบาลเนื่องจากถูกกำหนดให้ต้องทำตาม National Curriculum อย่างเคร่งครัด ส่วนโรงเรียนเอกชนในสหราชอาณาจักรสามารถพัฒนาหลักสูตรของตัวเองหรือนำ National Curriculum มาใช้แค่บางส่วนได้

ในประเทศไทยโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรอังกฤษส่วนใหญ่ มักจะใช้ National Curriculum เป็นหลักและอาจะมีการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียน และให้เป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยด้วย ผู้ปกครองสามารถค้นหารายชื่อ โรงเรียนนานาชาติ ของสมาคมได้ที่นี่ <—

Owl Campus Team