หากใครอยู่ในแวดวงการศึกษาต่อ จะทราบดีว่า ‘ออสเตรเลีย’ เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของบรรดานักเรียนต่างชาติจากนานาประเทศทั่วโลก ถือว่าฮอตฮิตมาเป็นอันดับ 3 ตามหลังสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เรื่องคุณภาพการศึกษาก็ไม่ต้องพูดถึง ที่ออสเตรเลียจัดว่าเป็นแนวหน้าเรื่องการศึกษาของโลกเลยก็ว่าได้ เมื่อข้อดีในหลายด้านของออสเตรเลียทำให้นักเรียนต่างชาติมากมายตกลงปลงใจเลือกดินแดนจิงโจ้เป็นประเทศในฝัน เช่นเดียวกับเด็กไทย แต่แล้วอุปสรรคสำคัญที่หลายคนต้องเผชิญ นั่นก็คือ ‘เรื่องการเงิน’
‘การเงิน’ คือทรัพยากรหลักและปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนความมุ่งมั่นในแผนการเรียนต่อยังต่างประเทศต่างๆ รวมทั้งออสเตรเลีย ไม่ว่าจะค่าธรรมเนียมวีซ่า ค่าดำเนินการ หรือแม้แต่ค่าเดินทางโดยเครื่องบิน ล้วนแต่ต้องขับเคลื่อนด้วยเม็ดเงินทั้งนั้น หากใครที่พอมีกำลังทรัพย์มากพอก็แทบจะไม่ต้องกังวลปัญหาด้านนี้ แต่สำหรับคนงบน้อย ต้องใช้สอยทุกบาททุกสตางค์อย่างประหยัด อาจจะต้องเผชิญกับความยากลำบากตรงนี้มากกว่าคนอื่นสักหน่อย นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ‘เราจะไปเรียนต่อยังออสเตรเลียไม่ได้’

การจะได้มาซึ่งบันไดขั้นแรกของการเรียนต่อ คือการได้มาซึ่ง วีซ่านักเรียน (Student Visa) สำหรับประเทศออสเตรเลียแล้ว ผู้สมัครวีซ่านักเรียนจะต้องมีหลักฐานการเงินที่เพียงพอต่อค่าธรรมเนียมการศึกษาครอบคลุมอย่างน้อย 12 เดือน อีกทั้งค่าครองชีพจะต้องใช้เงินประมาณ $21,041 หรือประมาณ 500,000 บาท ค่าเดินทางอีก $3,000 หรือประมาณ 72,000 บาท
ทำความรู้จัก : เงินสนับสนุน – กองทุนการศึกษา สำหรับนักเรียนต่างชาติ
โดยปกติ การวางแผนเรียนต่อยังออสเตรเลียในขั้นตอนการพิจารณาวีซ่าจะต้องระบุที่มาของเงินสนับสนุนในแผนการศึกษาครั้งนั้นๆเสมอ เพื่อทำให้รัฐบาลแน่ใจว่าเราจะสามารถใช้ชีวิตในต่างแดนอย่างไม่มีปัญหา ส่วนมากเรามักได้ ‘ครอบครัว’ หรือ ‘คู่ครอง’ เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนด้านการเงิน ในกรณีนี้ ผู้ปกครองหรือคู่รักจะต้องมีรายได้ต่อปีอย่างน้อย $62,222 หรือประมาณ 1.4 ล้านบาท แต่สำหรับคนงบน้อย ก็ไม่ต้องกังวล เพราะนอกจากตัวเลือกของเงินสนับสนุนจากครอบครัวและคู่รักแล้ว ที่ออสเตรเลีย ยังมีเงินสนับสนุนที่เรียกว่า ‘ทุนการศึกษา’ และ ‘กองทุนกู้ยืม’ สำหรับนักเรียนต่างชาติ
กองทุนกู้ยืมการศึกษาประจำประเทศออสเตรเลีย มีชื่อว่า ‘HELP’ ที่ย่อมาจาก Higher Education Loan Program เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนด้านการเงินเพื่อใช้ในการศึกษา เป็นที่น่าเสียดายที่โครงการนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับนักเรียนต่างชาติ แต่รัฐบาลออสเตรเลียก็ไม่ทอดทิ้งพวกเราแน่นอน นอกจากกองทุนของประเทศแล้ว ยังมีกองทุนจากอีกหลายภาคส่วนที่พร้อมสนุบสนุนบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองออสเตรเลียในด้านการเรียนต่อ เช่น
- จากกองทุนของมหาวิทยาลัย หรือ วิทยาลัย
- จากกองทุนประจำรัฐ สำหรับนักเรียนต่างชาติ
- จากกองทุนจากธนาคารภาคเอกชน
6 ประเภทกองทุนการศึกษา สำหรับนักเรียนต่างชาติ ในออสเตรเลีย
กองทุนกู้ยืมฉุกเฉิน
กองทุน - สินเชื่อเพื่อการใช้จ่ายเฉพาะบุคคล
กองทุนกู้ยืมที่ไม่ต้องมีหลักประกัน
กองทุนกู้ยืมระยะยาว
กองทุนชนิดนี้สามารถให้บริการได้ทั้งธนาคารภาคเอกชน และ มหาวิทยาลัย จะสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ หรือ ค่าเดินทาง ทั้งนี้ กองทุนกู้ยืมระยะยาวสามารถกู้ยืมในวงเงินที่มากกว่า ‘กองทุนกู้ยืมฉุกเฉิน’ ได้
นอกจากนี้ผู้กู้สามารถตั้งวงเงินได้สูงถึง $4,000 – 8,000 หรือประมาณ 96,000 – 190,000 บาทจากมหาวิทยาลัย และสามารถตั้งวงเงินกู้ได้มากกว่าจากธนาคาร ทั้ง 2 ผู้ให้บริการจะมีข้อแตกต่างกันตรงที่ สำหรับมหาวิทยาลัย ผู้กู้ไม่ต้องเสียอัตราดอกเบี้ย แต่สำหรับธนาคาร ผู้กู้จะต้องเสียอัตราค่าดอกเบี้ยนั่นเอง
กองทุนสำหรับนักเรียนสายสุขภาพ
กองทุนกู้ยืมด่วน
‘ทุนการศึกษา’ อีกหนึ่งช่องทางพิเศษให้ได้มาซึ่งเงินสนับสนุน!
นอกจากกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติทั้ง 6 ประเภทแล้ว ‘ทุนการศึกษา’ ถือเป็นอีกโอกาสพิเศษดีๆที่มาพร้อมเงินสนับสนุนครอบคลุมแทบทุกค่าใช้จ่าย ซึ่งขึ้นชื่อว่า ‘ทุน’ ก็จะต้องตามมาด้วยข้อจำกัด รายละเอียด และการแข่งขันของนักเรียนต่างชาติคนอื่นๆ มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียส่วนมากมักมีทุนการศึกษาให้เลือกสรรมากมาย ตามสาขาวิชานั้นๆหรือปัจจัยจากถิ่นที่อยู่ที่เราอาศัย การพิจารณาทุนจึงมีแนวโน้มจะขึ้นอยู่กับ คุณภาพการศึกษาของตัวผู้เรียนและสถานภาพทางการเงินรายบุคคล
ในออสเตรเลีย มีหนทางมากมายในการค้นหาทุนการศึกษาที่เหมาะกับตัวเอง เช่น ค้นหาได้จากมหาวิทยาลัย สืบค้นจากองค์กรท้องถิ่น หรือการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการศึกษา แต่ถ้าหากให้ตรงกับความต้องการ ผู้เรียนสามารถติดต่อกับทางมหาวิทยาลัยที่วางแผนจะไปเรียนในอนาคตได้โดยตรง เพื่อสอบถามในเรื่องเงินสนับสนุน ซึ่งทุนการศึกษาในออสเตรเลีย ปกติแล้วจะช่วยลดค่าธรรมเนียมการศึกษา ประมาณ 15% – 25% ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสถาบันและคอร์สเรียนอีกด้วย
ดูอย่างไรว่าเรา ‘มีคุณสมบัติได้ทุน’ และต้องยื่นสมัครทางไหน
เกณฑ์และคุณสมบัติในแต่ละทุนการศึกษาจะมีความแตกต่างกัน ไม่มีกฎเกณฑ์ใดที่จะยืนยันได้ว่าเราจะเป็น ‘ผู้โชคดี’ แต่การดูหรือเช็กด้วยตนเองง่ายๆ คือ เราต้องปฏิบัติและยื่นเอกสารตามเกณฑ์ที่กำหนดให้เรียบร้อย บางสถาบันประสงค์ขอผลสอบทางภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS บางสถาบันจะสอบถามถึงเกรดเฉลี่ยในผลการเรียนครั้งที่ผ่านมา นอกเหนือจากนี้จะขึ้นอยู่กับความประสงค์จากทางสถาบันนั้น ๆ
แนวทางยื่นสมัครทุนการศึกษา
เมื่อผู้เรียนตรวจสอบแล้วว่ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจากสถาบันดังกล่าว ขั้นตอนต่อไปคือการยื่นสมัคร
- เตรียมความพร้อม : ก่อนอื่นผู้สมัครจะต้องทำการเตรียมเอกสาร หลักฐานสำคัญให้พร้อม
- ยื่นสมัคร : สถาบันส่วนมากมักให้ผู้สมัครยื่นขอรับทุนการศึกษาทางออนไลน์จากหน้าเว็บไซต์ของสถาบันนั้น ๆ
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ : อีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน คือการติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่สถาบันโดยตรง ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายๆ ทางอีเมล หรือ ที่ง่ายไปกว่านั้น บางหน้าเว็บไซต์การยื่นขอทุน จะมีระบบ Student Service ที่ผู้สมัครสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่ระบบ AI แต่เป็นบุคลากรจริง
6 ข้อควรระวัง อย่าหลงกลมิจฉาชีพ!
มิจฉาชีพ เป็นหนึ่งในภัยร้ายที่อยู่แทบทุกวงการ เช่นเดียวกับ แวดวงการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนต่างชาติมักถูกตกเป็นเป้าหมายของบุคคลเหล่านั้น การทำงานอย่างมืออาชีพอาจปิดบังความจริงจากสายตาเราไปได้ และนั่นเองที่จะทำให้เราตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายในที่สุด และนี่คือ 6 ข้อควรระวัง อย่าตกในกลลวงของเหล่ามิจฉาชีพ!
- ระวัง! เมื่อไหร่ที่ต้องเสียเงิน เพื่อแลกกับเงินสนับสนุน!
- ระวัง! เมื่อไหร่ที่ข้อเสนอดูสวยหรูเกินกว่าจะเป็นความจริง
- จงใช้ ‘เวลา’ ในการหาทุน ไม่ใช่ ‘เงิน’
- ไม่มีใครรับรองได้ว่าเราจะเป็นผู้โชคดี! หากใครมาการันตีแลกผลประโยชน์ จงระวัง!
- ทุนการศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมาย จะไม่มีค่าธรรมเนียมในการสมัคร!
- อย่าเชื่อในข้อเสนอไปเสียหมด
นอกจากเงินสนับสนุน – กองทุน – ทุนการศึกษา จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ในปัจจุบัน ก็ไม่ได้ทำให้รัฐบาลออสเตรเลียนิ่งนอนใจที่จะช่วยเหลือนักเรียนต่างชาติในประเทศ โดยมีการระบุว่านักเรียนต่างชาติที่มีปัญหาทางการเงินและอยู่อาศัยในออสเตรเลียมามากกว่า 12 เดือน จะสามารถเข้าถึงกองทุนเงินซุปเปอร์ หรือ Superannuation ได้ ซึ่งสามารถติดต่อยื่นคำร้องผ่านเว็บไซต์ my.Gov.au
‘คิดเรื่องเงินทองไม่ออก ช่วยด้วย!’ บริการที่ปรึกษาด้านการเงินจากรัฐบาลออสเตรเลีย ฟรี!
หากใครไม่มีความรู้เรื่องเงินสนับสนุนเพียงพอและต้องการที่ปรึกษา ทางรัฐบาลออสเตรเลียก็ได้จัดหา ‘บริการที่ปรึกษาด้านการเงิน’ ไว้โดยเฉพาะ ในเว็บไซต์ Moneysmart.gov.au โดยบริการดังกล่าวนี้เป็นบริการให้คำปรึกษาฟรี! ในทุกเรื่องด้านการเงินในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะ การจ่ายบิล การชำระหนี้สิน ปัญหาด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ การประสบอุบัติเหตุแต่ไม่มีประกัน รวมถึงการเป็นหนี้จากการจ่ายภาษีอื่นๆ ซึ่งนักเรียน – นักศึกษาจากต่างชาติ สามารถเข้าใช้บริการดังกล่าวได้ บริการนี้จะสามารถช่วยให้คำแนะนำนักเรียนต่างชาติเป็นรายบุคคลตามสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ได้อย่างตรงประเด็นและเป็นประโยชน์ที่สุด
หากน้องๆมีปัญหาทางการเงินขณะเรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย แนะนำให้ติดต่อตามช่องทางข้างบนได้เลย ให้นึกถึงเป็นอย่างแรกเลย อย่าไปกู้นอกระบบน๊า
Owl Campus Team