สำหรับน้อง ๆ ที่มีใจรักในงานศิลปะ หลงใหลชื่นชอบ รู้สึกมีความสุขเมื่อได้สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะ มีความสนใจอยากเรียนรู้ศึกษาต่อด้านศิลปะอย่างจริงจังเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคต แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะไปศึกษาต่อในคณะไหน สาขาหรือสถาบันใด “บทความนี้จะมาแนะนำคณะและสถาบันต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีการเปิดสอนด้านศิลปะ” เพื่อเป็นข้อมูลให้น้อง ๆ ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกเส้นทางอนาคตให้กับตนเอง

รวมถึงถึงผู้ปกครองทุกท่าน ก็สามารถศึกษาข้อมูลเหล่านี้แล้วนำไปพูดคุยกับลูก ๆ ช่วยเขาตัดสินใจเลือกที่เรียนคณะสายศิลป์ได้เช่นกัน ในทีนี้จะขอแบ่งตามลักษณะของงานศิลปะเพื่อง่ายต่อความเข้าใจป้องกันการสับสนจากชื่อคณะที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่าง ๆ อาจใช้ชื่อเรียนไม่เหมือนกัน.

งานเกี่ยวกับการวาดภาพและภาพพิมพ์

คณะศิลปศาสตร์ / ศิลปกรรมศาสตร์

  • ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาจิตกรรม, สาขาภาพพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชานฤมิตรศิลป์ สาขาเรขศิลป์ (กราฟิก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาการออกแบบทัศนศิลป์ สาขาการออกแบบการสื่อสาร ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์, สาขาวิชาทัศนศิลป์ ม.กรุงเทพ
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์ ม.ขอนแก่น
  • วิชาเอกจิตรกรรม, ศิลปะภาพพิมพ์, ศิลปะไทย ม.มหาสารคาม
  • สาขานิเทศศิลป์ ม.บูรพา

คณะวิจิตรศิลป์

  • สาขาวิชาจิตกรรม, สาขาศิลปะภาพพิมพ์, สาขาศิลปะไทย ,สาขาศิลปะและการออกแบบสื่อ ม.เชียงใหม่

คณะสถาปัตยกรรมศาตร์

  • สาขาวิชานิเทศศิลป์, สาขาวิชาภาพพิมพ์และอิลัสเตรชั่น  สถาบันเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  
  • หลักสูตรนานาชาติ ออกแบบนิเทศศิลป์ ม.เทคโลโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะมัณฑนศิลป์

  • ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ศิลปากร

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

  • ภาควิชาจิตกรรม ม.ศิลปากร

วิทยาลัยเพาะช่าง ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

  • สาขาวิชาจิตกรรมไทย
  • สาขาวิชาจิตกรรม
  • สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์
  • สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

  • วิชาเอกจิตรกรรม
  • วิชาเอกศิลปะไทย

วิทยาลัยนานาชาติ

  • สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ม.มหิดล

งานด้านประติมากรรมหรืองานปั้น

คณะศิลปะศาสตร์

  • ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขา ประติมากรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชานฤมิตรศิลป์ สาขาหัตถศิลป์ (เกี่ยวกับเซรามิค) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาทัศนศิลป์ สาขาเซรามิก ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิชาเอกประติมากรรม, วิชาออกแบบเซรามิกส์ ม.บูรพา

คณะสถาปัตยกรรมศาตร์

  • สาขาวิชาประติมากรรมและประติมากรรมเพื่อสังคม สถาบันเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • หลักสูตรนานาชาติ สถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมภายใน ม.เทคโลโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะวิจิตรศิลป์

  • สาขาวิชาประติมากรรม ม.เชียงใหม่

คณะมัณฑนศิลป์

  • ภาควิชาออกแบบเครื่องปั้นดินเผา ม.ศิลปากร

คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์

  • ภาควิชาประติมากรรม ม.ศิลปากร

วิทยาลัยเพาะช่าง ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

  • สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา

วิทยาลัยช่างศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

  • วิชาเอกเครื่อเคลือบดินเผา

งานด้านสถาปัตยกรรม

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

  • ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์, ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก, สถาปัตยกรรมภายใน สถาบันเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  
  • สาขาสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมภายใน, สาขาการผังเมือง, ออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง ม.ธรรมศาสตร์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์, การออกแบบภายใน, การสื่อสารสถาปัตยกรรม ม.ศรีปทุม
  • สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.รังสิต
  • ภาควิชาสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์ (หลักสูตรสถาปัตยกรรศาสตรบัณฑิต)
  • ภาควิชานวัตกรรมอาคาร ม.เกษตรศาสตร์ (หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต)

คณะศิลปกรรมศาสตร์

  • สาขาสถาปัตยกรรม ม.กรุงเทพ

คณะมัณฑนศิลป์

  • ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน ม.ศิลปากร

วิทยาลัยเพาะช่าง ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

  • สาขาวิชาการออกแบบภายใน

งานเกี่ยวกับการออกแบบอื่น ๆ

คณะศิลปกรรมศาสตร์

  • ภาควิชานฤมิศิลป์ สาขามัณฑนศิลป์ (การออกแบบเสื้อผ้า) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาออกแบบทัศนศิลป์ สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์, สาขาออกแบบแฟชั่น, สาขาศิลปะเครื่องประดับ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น, สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ม.กรุงเทพ
  • สาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ (ออกแบบเสื้อผ้า) ม.ธรรมศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

  • สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ สถาบันเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • หลักสูตรนานาชาติ การออกแบบอุตสาหกรรม ม.เทคโลโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะมัณฑนศิลป์

  • ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์, ออกแบบประยุกต์ศิลป์, ออกแบบเครื่องประดับ, ออกแบบแฟชั่นดีไซน์ ม.ศิลปากร

วิทยาลัยเพาะช่าง ม.เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

  • สาขาวิชาเครื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี

งานเกี่ยวกับแอนิเมชั่น

แนะนำอ่าน : อยากเป็น “นักพัฒนาเกม” ต้องเรียนคณะอะไร?

คณะสถาปัตยกรรม

  • สาขาการภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย สถาบันเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะดิจิทัลมีเดีย/ ดิจิทัลอาร์ต

  • สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นและวิชวลเอฟเฟกต์ ม.ศรีปทุม
  • สาขาวิชาคิมพิวเตอร์อาร๋ต, สาขาวิชาวิชวลเอฟเฟค ม.รังสิต

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  • สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น วิทยาลัยสันตพล, ม.นอร์ทกรุงเทพ
  • สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น ม.หอการค้าไทย, ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด

คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

  • สาขามัลติมีเดียแอนิเมชั่น ม.ราชภัฏอุบลราชธานี

คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

  • สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แอนิเมชั่นและเกม ม.ราชภัฏกาฬสินธุ์

สถาบันกันตนา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแอนิเมชั่น


เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเลือกเรียนคณะสายศิลป์

รายชื่อคณะ/สถาบันทั้งหมดที่ยกมานี้เป็นแค่ตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายมหาวิทยาลัยหลายสถาบันที่ทำการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ขอแนะนำน้อง ๆ และผู้ปกครองว่าสิ่งแรกที่เราควรให้ความสนใจคือ สำรวจว่าเราหรือลูกของเราอยากจะเรียนเกี่ยวกับอะไร ฝันไว้ว่าอยากจะทำงานด้านไหน มาเป็นอันดับแรก ๆ ก่อนที่จะนึกถึงชื่อคณะ ชื่อมหาวิทยาลัย เพราะจากรายชื่อคณะสายศิลป์ต่าง ๆ ข้างต้น น้อง ๆ ก็น่าจะได้เห็นแล้วว่า “งานศิลปะแต่ละด้านมีชื่อเรียกที่หลากหลาย บางอย่างเรียกต่างกันแต่เรียนเหมือนกัน” อย่าเผลอสับสนดูแต่ชื่อคณะอย่างเดียวเพราะงานด้านจิตกรรมการวาดภาพบางมหาวิทยาลัยก็จัดให้เป็นสาขาในคณะสถาปัตยกรรม

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเลือกเรียนคณะสายศิลป์
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเลือกเรียนคณะสายศิลป์ผ่านระบบการคัดเลือกกลาง TCAS

งานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบต่าง ๆ ทั้งเสื้อผ้าแฟชั่น ออกแบบเครื่องประดับ ออกแบบผลิตภัณฑ์ กระจายอยู่ตามคณะศิลปกรรมศาสตร์บ้าง คณะสถาปัตยกรรมบ้าง หรือคณะมัณฑนศิลป์บ้าง ยิ่งงานที่เกี่ยวข้องกับแอนิเมชั่นนั้นแฝงอยู่ในคณะที่หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงอย่างคณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งสำคัญคือการหาข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรของคณะ/สาขานั้น ๆ ให้ครบถ้วน แล้วก็ต้องเป็นข้อมูลที่อัปเดตด้วยนะคะ

แนะนำอ่านต่อ : ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS