เมื่อพูดถึง “อัลกอริทึม” คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ครอบครัวอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเด็กมากเท่าไหร่นัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัลกอริทึมอยู่รอบ ๆ ตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของลูก ๆ อย่างคาดไม่ถึง บนโลกที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิต อัลกอริทึมก็เป็นส่วนหนึ่งในเทคโนโลยี ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวัน และไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีเท่านั้น การตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดผลลัพธ์ในชีวิต ล้วนเกี่ยวข้องกับอัลกอริทึมทั้งสิ้น

Algorithms เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากในยุคดิจิทัล ถึงแม้ว่าภายนอกฟังดู อาจจะรู้สึกว่ายากหรือซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็ก แต่จริง ๆ แล้วคอนเซ็ปของอัลกอริทึมนั้นเรียบง่ายมากสำหรับเด็ก ๆ วันนี้เราจะพามารู้จักกับ “Algorithms for kids สอนลูกให้คิดแบบอัลกอริทึม ฉบับเข้าใจง่าย ใช้ได้จริง” ไปเริ่มกันเลย!

อัลกอริทึมคืออะไร?​

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับนิยามง่าย ๆ ของ “อัลกอริทึม” กันก่อน

อัลกอริทึม คือ กระบวนการหรือลำดับคำสั่ง ที่มีการแสดงขั้นตอนอย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาในการทำงาน ให้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ในสายงานโปรแกรมเมอร์ จะเขียนอัลกอริทึมขึ้นมาเพื่อแสดงขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ เพื่อให้มีผลลัพธ์ออกมาเป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานตามที่ออกแบบไว้ได้นั่นเอง

เด็กๆเริ่มเขียนอัลกอริทึมของตัวเองได้ง่ายนิดเดียว​
กิจวัตรประจำวันที่เด็กๆทำล้วนมีลำดับขั้นตอน ซึ่งนั่นหมายความว่ามีความเชื่อมโยงกับอัลกอริทึม

ฟังดูอาจจะรู้สึกไกลตัว….เรากลับมาพูดถึงเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ กันบ้างดีกว่า จริง ๆ แล้วในกิจวัตรประจำวันของทุกครอบครัวรวมถึงเด็ก ๆ ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับอัลกอริทึมตั้งแต่เริ่มต้นตื่นนอนจนจบวันในทุกกิจกรรมที่ทำ ยกตัวอย่างเช่น

  • Algorithms ในการทำเมนูต้มยำกุ้ง หากเราทำตามสูตรหรือลำดับขั้นตอนการปรุงต้มยำกุ้งครบทุกขั้นตอน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะได้ออกมาเป็นต้มยำกุ้งแสนอร่อยตามที่ต้องการ
  • Algorithms ในการพับเสื้อผ้าตัวโปรด เชื่อหรือไม่ว่าลำดับขั้นตอนในการพับเสื้อตัวโปรดจนได้ผลลัพธ์มาเป็นเสื้อผ้าที่ถูกพับไว้อย่างเรียบร้อย ก็จัดเป็นอัลกอริทึมที่แสนจะใกล้ตัวเราทั้งสิ้น
  • Algorithms ในการแก้โจทย์ปัญหาที่เด็ก ๆ ได้ฝึกใช้กันอยู่ทุกวันตอนไปโรงเรียน ลำดับขั้นตอนที่นำเด็ก ๆ ไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง นั่นก็คือ อัลกอริทึมที่เด็ก ๆ ได้ฝึกใช้กันอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างทั้งหมดที่ได้ยกมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จริง ๆ แล้วกิจวัตรประจำวันหรือทุก ๆ สิ่งที่เด็ก ๆ ทำล้วนต้องมีลำดับขั้นตอน ซึ่งนั่นหมายความว่าการใช้ชีวิตของเด็ก ๆ มีความเชื่อมโยงกับอัลกอริทึมอยู่แทบจะตลอดเวลาเลยนั่นเอง

เด็ก ๆ เริ่มเขียนอัลกอริทึมของตัวเองได้ง่ายนิดเดียว​

การสอนให้ลูกสร้างอัลกอริทึมจากสิ่งใกล้ตัวนั้นง่ายนิดเดียว! อาจเริ่มจากการมองหากิจกรรมใกล้ตัวเด็ก ๆ เช่น การแปรงฟัน การทานอาหารเช้า เป็นต้น จากนั้นเริ่มฝึกให้ลูกเขียนออกมาเพื่อแสดงลำดับขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบผ่านการเขียน การเล่าเรื่อง การวาดภาพ หรือการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงอัลกอริทึมออกมาอย่างเป็นลำดับ

 เราอาจจะคิดว่า 493 เป็นจำนวนเฉพาะ

เรามาดูตัวอย่างในห้องเรียนกันบ้าง ในคลาสเรียนคณิตศาสตร์  เมื่อเด็ก ๆต้องการพิจารณาว่าจำนวนใดบ้างที่เป็นจำนวนเฉพาะ หากเจอตัวเลขน้อย ๆ ที่คุ้นเคย ก็สามารถตอบได้ทันที

แต่ถ้าหากเด็กๆเจอจำนวนหลายหลัก ยกตัวอย่างเช่น 493 ซึ่งถ้าหากมองดูผ่าน ๆ เราอาจจะคิดว่าจำนวนนี้เป็นจำนวนเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนนี้ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ!!!

จำนวนเฉพาะ (Prime number) คือ จำนวนเต็มบวกที่มีตัวหารที่เป็น​บวกอยู่ 2 ตัว คือ 1 กับตัวมันเอง

ซึ่งในการพิสูจน์เด็กๆอาจจะต้องทดลองโดยการหาตัวเลขมาทดลองหารซ้ำๆมากกว่า 15 ครั้งเลยทีเดียว ซึ่งในการหาคำตอบทางคณิตศาสตร์อย่างตัวอย่างที่ยกมานี้ เด็ก ๆ สามารถเขียนออกมาเป็นอัลกอริทึมที่เข้าใจง่าย ผ่านทางภาษาโปรแกรมมิ่งหรือ Coding เพื่อใช้ในการแก้โจทย์ได้และง่ายขึ้นอีกด้วย

มาดูกันว่า…อัลกอริทึมทำงานอย่างไร?​

“การคิดแบบอัลกอริทึม” เป็นกระบวนการความคิดที่สอนให้เด็ก ๆ ได้ฝึกวางแผน มีการลงมือทำอย่างเป็นระบบจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย โดยการทำงานหลัก ๆ ของอัลกอริทึมจะประกอบไปด้วย การวางลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน การทำซ้ำ และการสร้างเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

“ประโยชน์ของอัลกอริทึม” นอกจากจะช่วยทำให้เด็ก ๆ ไม่สับสนกับวิธีดำเนินงาน เพราะทุกอย่างจะถูกวางลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อน้อง ๆ มีวิธีคิดแบบนี้ และนำมาใช้ จะทำให้การทำงานต่าง ๆ นั้นสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดปัญหาหรือสามารถค้นหาสาเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

การฝึกให้เด็กมีความคิดแบบอัลกอริทึมมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็ก ๆ เพราะในทุกวันพวกเขามีการใช้อัลกอริทึมโดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาเลข เช่น การหารยาว ที่เด็ก ๆ จะต้องผ่านการทำซ้ำในแต่ละหลัก โดยในแต่ละหลักก็จะมีกระบวนการคิดทั้งการคูณและการลบ สอดแทรกเป็นอัลกอริทึมอยู่ในนั้นจนกว่าจะได้คำตอบ การคิดแบบอัลกอริทึมจึงช่วยให้เด็กรู้จักการตีโจทย์ การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาออกมาเป็นขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การลงมือทำอย่างเป็นระบบ

Coding ช่วยให้เด็กได้ฝึกการคิดแบบอัลกอริทึม​

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของอัลกอริทึมสำหรับเด็ก ๆ กันไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่ทุกครอบครัวสามารถส่งเสริมให้ลูกได้จากกิจกรรมสนุก ๆ อย่างการเขียนโค้ด หรือ การเล่นเกมปริศนา เพื่อให้ลูกได้ฝึกออกแบบอัลกอริทึมง่าย ๆ โดยใช้หัวใจหลักอันเป็นพื้นฐานสำคัญ ได้แก่ การลำดับขั้นตอน การทำซ้ำ และการสร้างเงื่อนไขไปสู่ผลลัพธ์เพื่อแก้ไขปัญหาสนุก ๆ ได้ผ่านเกมที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ หากได้ฝึกฝนอย่างเป็นประจำแล้วล่ะก็ รับรองเลยว่า ลูก ๆ ของคุณจะกลายเป็นสุดยอดนักสร้างนวัตกรรมสุดล้ำในโลกแห่งอนาคตได้อย่างแน่นอน

ทความแนะนำ : 10 เหตุผลว่าทำไมควรให้ลูกได้เรียน Coding

มาถึงตรงนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่น่าจะทราบถึงข้อดีของวิธีคิดแบบเป็นลำดับ เป็นขั้นตอน สามารถช่วยให้เด็ก ๆ ฝึกวิธีคิดแบบนี้ได้ด้วยกิจกรรมในบ้าน รวมไปถึงการสนับสนุนให้เค้า ได้เรียนโค้ดดิ้ง (อาจจะเริ่มต้นจาก Scrath ก่อนก็ได้) ซึ่งโค้ดดิ้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสกิลที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

Owl Campus Team